/ # Technology / 4 min read

รู้จัก Gamification ผ่าน 3 แอพฯ​ ที่ทำให้เราติดเหมือนเกม!

ในยุคที่คนใช้แอพพลิเคชั่นบนมือถือกันทั่วบ้านทั่วเมือง มีออกมาหลายเจ้าให้เราใช้ การที่แอพแล้วจะดูใช้งานง่าย ดูสวย ใช้แล้วไม่เด้งไม่ค้าง อาจจะไม่พอที่จะทำให้แอพฯ ประสบความสำเร็จอีกแล้ว

วิธีการหนึ่งที่ทำให้แอพฯ (ที่ไม่ใช่เกมตีป้อม/โดดร่ม) มีผู้ใช้เข้าตลอด คือการทำให้แอพฯ นั้นสนุกเหมือน ‘การเล่นเกม’ ซึ่งเขามีวิธีที่เรียกกันว่า Gamification หรือการนำวิธีคิดแบบเกม มาปรับใช้ในบางส่วนของแอพฯ เพื่อสร้างเป้าหมายบางอย่างให้กับผู้ใช้ ทำให้เลิกเล่นเป็นไม่ได้เลย

3 แอพพลิเคชั่นต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ Gamification ที่ลองเลือกมาเล่าให้ฟังเพื่อจะได้เห็นภาพมากขึ้น ลองไปดูกันเลย

เพิ่มเป้าหมาย—Starbucks

Starbuck_Appstore

แอพพลิเคชั่นร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbuck มีแนวคิดที่จะเพิ่มเป้าหมายบางอย่างให้กับสมาชิก เลยมีระบบ Starbucks Rewards™ ขึ้นมา โดยคนที่เป็นสมาชิกจะได้รับ Star (ดาว) 1 ดวงต่อการซื้อ 1 แก้ว พอครบ 100 ดวงแล้วก็จะเลื่อนขั้นเป็น Green Level และเมื่อเก็บได้เพิ่มอีก 150 (=250 ดวง) ก็จะเลื่อนขั้นเป็น Gold Level โดยแต่ละ Level (ระดับ) ก็จะมีสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไป

นอกจากนี้ เมื่อซื้อครบ 12 แก้วแล้ว ก็จะได้เครื่องดื่มฟรี 1 แก้วในไซส์ Tall (แก้วเล็ก) ดูแล้วก็เหมือนกับ

ที่ลองยก Starbucks มาก่อนก็เพราะว่า จะทำให้เราเห็นองค์ประกอบได้ชัด เมื่อลองออกมาแล้ว จะเห็นได้ว่า แอพ Starbucks จะมีคะแนน (Points) ให้กับผู้ใช้ ในที่นี้ก็คือ Stars มีแบดจ์ (Badge) ในระบบก็คือ Level และมีของรางวัล (Reward) ก็คือสิทธิพิเศษ ส่วนลด และเครื่องดื่มฟรี

ใส่ความสนุก—Duolingo

Duolingo_Appstore

Duolingo แอพฯ เรียนภาษาฟรีชื่อดับง มีผู้ใช้งานกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก เพิ่มความสนุกให้กับการเรียนภาษา ถึงขนาดที่คุณ Zan Gilani, Product Manager ของแอพฯ ออกมาบอกเองเลยว่า Gamification นี่แหละกุญแจสำคัญไปสู่ความสำเร็จ

การเรียนมีทั้งแบบช้อยส์ พิมพ์ตอบ พูดตอบ ฯลฯ ความยากแบ่งเป็น Level ไป ยิ่งเรียนเยอะก็ยิ่งได้ค่าประสบการณ์ (XP) เยอะ พอ XP เยอะถึงจุดหนึ่งเหรียญตรา (Badge) เราก็จะเปลี่ยนดูเท่ขึ้น และแชร์อวดเพื่อนได้ว่าเก๋ๆ ว่า “ดูสิ เรียนภาษาฝรั่งเศสไป 50% แล้ว!”

ผู้ใช้สามารถตั้งเป้าหมายการเรียนในแต่ละวันได้ โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ จากน้อยไปมาก เรียนได้เยอะต่อวันก็ยิ่งเท่ แล้วยิ่งเข้ามาเรียนทุกวันก็จะเก็บ ‘Streak’ หรือการที่เราเข้ามาเรียนทุกวันอย่างต่อเนื่อง แล้วก็จะได้โบนัสอะไรกลับมาอีกในแอพฯ

ในแอพฯ มีค่าเงินเสมือนชื่อว่า Lingot เจ้าค่าเงินนี้ก็จะได้มาจากเรียนเช่นกัน โดยสามารถนำไปใช้ซื้อไอเทมได้ รวมถึงคอร์สพิเศษๆ เช่น “วิธีจีบสาวด้วยภาษาฝรั่งเศส” อะไรประมาณนี้

จะเห็นได้ว่า Duolingo พยายามจะปรับใช้ Gamification ในหลายองค์ประกอบเท่าที่จะเป็นไปได้ในแอพฯ ของตัวเอง จนประสบความสำเร็จมากๆ มาถึงตอนนี้

เพิ่มการแข่งขัน—Nike+ Run Club

NikeApp_Appstore

Nike+ Run Club เปิดตัวในปี 2006 (ตอนแรกชื่อ Nike+ สีแดงๆ) แอพฯ จะคอยเก็บข้อมูลการวิ่งของเรา เช่น ความเร็ว ระยะทาง เวลาที่ใช้ อยู่ตลอด และแสดงให้เราเห็นถึงระยะทางที่เราทำได้มากที่สุด เพื่อให้พยายามชนะระยะทางเดิมของตัวเอง เหมือนกับเล่นเกมให้ได้คะแนนสูงขึ้นกว่าเดิม

จุดเด่นหนึ่งของแอพฯ เมื่อเปิดตัวมาคือ เราสามารถแข่งกับเพื่อนหรือผู้ใช้อื่นๆ ได้ด้วยระยะทางที่เราวิ่งมา มีการใช้ตารางคะแนนเปรียบเทียบ (Leaderboard) ว่าใครได้คะแนนเยอะสุด ทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นมา นอกจากนี้ยังสามารถแชร์สถิติของเราไปอวดได้ใน Social Media อีกด้วย

นอกจากจะมีคนจำนวนมากจำแบรนด์ไนกี้ได้แล้ว บริษัทยังได้ข้อมูลมหาศาลไปวิเคราะห์และทำอะไรต่างๆ อีกมากมายได้อีกด้วย ถือเวลายิงครั้งเดียวได้นกหลายตัวเลยทีเดียว


เราได้เห็นองค์ประกอบของ Gamification คร่าวๆ ได้แก่ Point, Badge, และ Leaderboard (PBL) ทว่าการทำ Gamification ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะผู้พัฒนาต้องมีวิธีคิดแบบเกม และออกแบบกลไกของเกมให้ดีและรัดกุม รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถทำให้คนติดหนึบอยู่กับแอพฯ นั้นได้จริงๆ

รู้จัก Gamification ผ่าน 3 แอพฯ​ ที่ทำให้เราติดเหมือนเกม!
Share this